บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างถังกรองประดิษฐ์ที่มีตัวดูดซับเถ้าลอยส าหรับบ าบัด แอมโมเนีย-ไนโตรเจน และทีเคเอ็น ที่มีปริมาณสูงในน้ าเสียชุมชนด้วยตัวดูดซับเถ้าลอย 3 ชนิด คือ FA1, FA2 และ FA3 เป็นผลพลอยได้จากการเผาไหม้ถ่านหินและชีวมวลในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน จากการ ทดลองแบบแบตซ์ พบว่า เถ้าลอยลิกไนต์ชนิด FA3 ซึ่งได้จากการเผาไหม้ของถ่านหินลิกไนต์ 100 เปอร์เซ็นต์ให้ประสิทธิภาพการบ าบัดแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูงสุดที่ร้อยละ 82.57 ในสารละลาย แอมโมเนีย-ไนโตรเจน นอกจากนั้นได้ไอโซเทอร์มการดูดซับมีความสอดคล้องกับทั้งไอโซเทอร์มของ แลงเมียร์และฟรุนดิชการทดลองโดยใช้น้ าเสียจากบ่อรวบรวมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า สามารถบ าบัดแอมโมเนีย-ไนโตรเจน และทีเคเอ็น ได้สูงสุดร้อยละ 98.71 และ 75.55 ตามล าดับการ ทดลองแบบไหลต่อเนื่องในระดับห้องปฏิบัติการในคอลัมน์แก้ว ซึ่งบรรจุชั้นกรองจากวัสดุธรรมชาติ 4 ชั้น ได้แก่ หิน, กรวด, ทรายละเอียด และเถ้าลอยลิกไนต์ชนิด FA3 ผสมดิน (1:40)จากบนลงล่าง ผล การศึกษาพบว่าประสิทธิภาพในการบ าบัดแอมโมเนีย-ไนโตรเจน และทีเคเอ็นได้สูงสุดร้อยละ 99.87 และ 75.57 ตามล าดับ นอกจากนั้นได้ท าการทดลองประดิษฐ์ถังกรองโดยใช้ถังพลาสติกที่มีปริมาตร 18.925 ลิตร โดยบรรจุชั้นกรองเหมือนคอลัมน์แก้ว ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการบ าบัดแอมโมเนียไนโตรเจน และทีเคเอ็นสูงสุดร้อย 99.61 และ 75.26 ตามล าดับ ในขณะที่ชุดควบคุมที่ไม่ได้ผสมเถ้าลอย ลิกไนต์ชนิด FA3 ให้ประสิทธิภาพในการบ าบัดแอมโมเนีย-ไนโตรเจน และทีเคเอ็นต่ ากว่าคือร้อยละ 76.33 และ 67.31 ตามล าดับ ดังนั้นถังกรองประดิษฐ์นี้มีศักยภาพที่ดีในการบ าบัดแอมโมเนีย-ไนโตรเจน และทีเคเอ็นในน้ าเสียชุมชน
ค าส าคัญ: เถ้าลอยลิกไนต์, ถังกรองประดิษฐ์, ตัวดูดซับ, แอมโมเนีย-ไนโตรเจน, ทีเคเอ็น
|